คำแนะนำการจัดเตรียมอุปกรณ์ทางการแพทย์สำหรับสถานการณ์โควิด-19

นิธิพัฒน์ เจียรกุล
นายกสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
6 เมษายน 2563
ตามที่มีความสับสนของสังคมในปัจจุบันเกี่ยวกับการรับมือสถานการณ์โควิด-19 รวมสองเรื่อง คือ การขาดแคลนเครื่องช่วยหายใจสำหรับผู้ป่วยวิกฤตโควิด-19 และ การจัดเตรียมอุปกรณ์ป้องกันตนเองส่วนบุคคล (personal protective equipment; PPE) ที่มีประสิทธิภาพให้มีใช้เพียงพอสำหรับบุคคลากรทางการแพทย์
สมาคมอุรเวชช์ฯ จึงขอชี้แจงดังนี้
- ปัจจุบันประเทศไทยไม่ขาดแคลนเครื่องช่วยหายใจสำหรับใช้กับผู้ป่วยวิกฤตจากโควิด-19 ที่ต้องเข้ารับการรักษาในไอซียู ทั้งนี้เพราะหน่วยงานสุขภาพทั้งภาครัฐและเอกชน ได้มีการขยายขีดความสามารถด้านนี้มานับสิบปีแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องผลิตเครื่องช่วยหายใจขึ้นใช้เองในประเทศตอนนี้ และเครื่องที่ผลิตขึ้นก็จะยังไม่สามารถนำมาใช้งานกับผู้ป่วยวิกฤตโควิด-19 ได้ เพราะต้องผ่านการทดสอบและรับรองโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบ และต้องสร้างความมั่นใจให้กับแพทย์ผู้ใช้งานเนื่องจากต้องมีโอกาสความผิดพลาดที่น้อยมาก
- การจัดเตรียม PPE ที่มีประสิทธิภาพและให้มีใช้อย่างเพียงพอ โดยหน่วยงานภาครัฐเป็นหลักและเสริมจากภาคประชาชน จะต้องคำนึงถึงมาตรฐานความปลอดภัยของผู้ใช้งาน ในระยะที่ยังจัดหาสินค้าได้เพียงพอจากต่างประเทศหรือบางชนิดที่ผลิตได้เองในประเทศ ต้องเลือกที่ได้ตามมาตรฐานสากล แต่ในอนาคตที่จะมีการขาดแคลนวัตถุดิบทั่วโลก จึงดำเนินการตามช่วงเวลาที่คาดการณ์ ดังนี้
ระยะ | ช่วงเวลา | มาตรการ |
1 | 1-30 เม.ย. | ใช้ตามมาตรฐานสากลกำหนด |
2 | 1-31 พ.ค. | ใช้ตามมาตรฐานสากลระดับรองลงมา ร่วมกับวัสดุอื่น industrial grade N95 + surgical mask (หน้ากากอนามัย) industrial grade cover all (ชุดคลุมทั้งตัว) + เสื้อกันฝนshoe cover (ถุงหุ้มรองเท้า) ที่ผลิตเองในประเทศซ้อนกันสองชั้น |
3 | 1 มิ.ย – | ใช้ตามสภาพวัสดุที่จัดหาได้ภายในประเทศ cover all ตัดเย็บในประเทศด้วยผ้าคุณภาพสูง แล้วนำมารียูสได้รียูส N95 โดยใช้ความร้อน หรือแสงยูวี เป็นต้นประยุกต์ใช้หน้ากากทางการแพทย์อื่น หรือ หน้ากากดำน้ำ PAPR (เครื่องครอบศีรษะแบบแรงดันบวก) ที่ผลิตในประเทศ แต่ต้องได้มาตรฐานการป้องกันของเหลวและแรงดันภายนอกในบริเวณส่วนที่เป็นผ้า |
ทั้งนี้มาตรฐานสากลและชนิดสินค้าที่พบบ่อยในประเทศไทย คือ


Leave a comment