ขอเชิญร่วมเสนอหัวข้อสิทธิประโยชน์หรือการเข้าถึงบริการ เพื่อพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

ด้วยคณะอนุกรรมการกำหนดประเภทและขอบเขตในการให้บริการสาธารณสุขที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต ภายใต้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้จัดให้มีการเสนอหัวข้อ/ประเด็นสิทธิประโยชน์/การเข้าถึงบริการ เพื่อนำไปดำเนินการคัดเลือกและพัฒนาเป็นชุดสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้เกี่ยวข้องจำนวน 9 กลุ่ม ได้แก่
- กลุ่มผู้กำหนดนโยบาย ได้แก่ หน่วยงานระดับกรมในกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานประกันสังคม กรมบัญชีกลาง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ ได้แก่ ราชวิทยาลัยและสมาคมด้านการแพทย์
- กลุ่มนักวิชาการด้านสาธารณสุข ได้แก่ คณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ และคณะเศรษฐศาสตร์ที่มีหลักสูตรเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข
- ภาคประชาสังคม ได้แก่ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหากำไร คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
- กลุ่มเครือข่ายผู้ป่วย ได้แก่ เครือข่ายผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
- ประชาชนทั่วป ได้แก่ กลุ่มประชาชนที่จากเวทีประชุมรับฟังความเห็นทั่วไปประจำปี
- ภาคอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ได้แก่ สมาคมอุตสาหรกรรมเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ไทย
- กลุ่มนวัตกรรมทางการแพทย์ ได้แก่ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
- คณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง
ในฐานะกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและเกี่ยวข้องในกลุ่มที่ 2 สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ขอเชิญสมาชิกสมาคมฯ ร่วมเสนอหัวข้อสิทธิประโยชน์หรือการเข้าถึงบริการ เพื่อเข้ารับการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ผลกระทบด้านงบประมาณและความเป็นไปได้ในการดำเนินการจัดการ
ทั้งนี้ หัวข้อที่จะผ่านเกณฑ์เพื่อเข้าสู่การคัดเลือก จะต้องไม่อยู่ในเกณฑ์การคัดออกดังต่อไปนี้
- เป็นข้อเสนอเรื่องยา หรือ วัคซีน หรือ อาหารเสริม
- เป็นข้อเสนอที่ขาดหลักฐานว่ามีประสิทธิภาพ (efficacy) และความแม่นยำ (accuracy)
- เคยมีการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ที่เชื่อถือได้และได้รับการพิจารณาโดยคณะอนุกรรมการกำหนดประเภทและขอบเขตในการให้บริการสาธารณสุขที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตมาแล้ว และยังไม่มีข้อมูลที่ควรพิจารณาใหม่
ตัวอย่างของหัวข้อปัญหาและเทคโนโลยีด้านสุขภาพที่ผ่านการพิจารณาเป็นสิทธิประโยชน์ในระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี 2561
- การใช้ sleep lab test ในการวินิจฉัยภาวะหยุดหายใจในผู้ป่วยนอนกรน
- พัฒนาระบบการบริบาลเรื่องการรักษาดูแลผู้ป่วยไตวายในกรณีที่มีโรคร่วม HIV ที่ฟอกเลือด้วยเครื่องไตเทียม
- การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจด้วยวิธี transcatheter aortic valve replacement (TAVR) ในผู้ป่วยสูงอายุที่มีลิ้นหัวใจตีบรุนแรงและเสี่ยงต่อการรักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจด้วยวิธี surgical aortic valve replacement
- ค่าอุปรณ์ที่ใช้การทำหัตถกรรม embolization
- การรักษาภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้อันเนื่องมาจากหูรูดของท่อปัสสาวะบกพร่องในเพศชาย
- Percutaneous epidural adhesiolysis catheter
- การป้องกันและลดความเสี่ยงจมน้ำในเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปี
- ชุดคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิด
- การตรวจคัดกรองในกลุ่มแรงงานนอกระบบในกลุ่มอาชีพที่มีความเสี่ยงและเกษตรกร
- เครื่องวัดความดันโลหิตแบบอัตโนมัติชนิดวัดเองที่บ้าน
- สนับสนุนการให้อุปกรณ์ในการให้นม เช่น ถุงเก็บน้ำนม ตู้เย็น มุมนมแม่ที่อยู่ในสถานประกอบการ ในกลุ่มแม่ผู้ใช้แรงงาน เช่น การให้นมในโรงงาน
- การเข้าถึงการใช้ยามอร์ฟีนในผู้ป่วยระยะสุดท้าย
สมาชิกสมาคมฯ สามารถกรอกข้อมูลหัวข้อปัญหาและเทคโนโลยีด้านสุขภาพผ่านทางแบบฟอร์ม google form ได้ ที่นี่
Leave a comment